เด็กอ้วนเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ไขมันที่สะสมอยู่ในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อรอบทางเดินหายใจส่วนบนทำให้ช่องทางเดินหายใจแคบลง ไขมันที่สะสมในช่องท้องดันกระบังลมขึ้นขณะนอนหงาย ผนังหน้าอกที่หนาด้วยไขมันมีความยืดหยุ่นต่ำ ปัจจัยทั้งหมดนี้เสริมกันทำให้ขณะนอนหลับเด็กอ้วนมีปริมาตรปอดลดลงในขณะที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้เสี่ยงต่อภาวะออกซิเจนในเลือดลดต่ำ มีผลกระทบต่อการเติบโต ผู้ป่วยอาจมาด้วยอาการปัสสาวะรดที่นอน ตื่นหลายครั้ง ปวดศีรษะ ซน สมาธิสั้น หลับกลางวัน และกระทบต่อความสามารถด้านสติปัญญา มีความดันโลหิตสูง, pulmonary hypertension, การทำงานของ ventricles ทั้งสองห้องลดลง
ส่วนเด็กที่อ้วนรุนแรงมากจะมีระดับอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดต่ำ และนั่งหลับกลางวันได้
ที่มา : หนังสืออ้วนและอ้วนลงพุง เครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย